หัวหน้าหน่วยงาน : บุญยอด ศรีรัตนสรณ์ โทรศัพท์ : 038-515827 โทรสาร : 038-517082 เว็บไซต์ : http://human.rru.ac.th จำนวนบุคลากร : 7 คน
|
ข้อมูลทั่วไปหน่วยงาน |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี ที่ปรับปรุงแก้ไขโดย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตามเกณฑ์มาตรฐานระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548 ของสำนักงานคณะกรรมการอุดดมศึกษา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบันเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีบทบาทในการพัฒนา และแก้ปัญหาของแต่ละท้องถิ่นมากขึ้น นับตั้งแต่มี พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ตั้งแต่ พ.ศ.2537 ในฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จึงได้กำหนดภารกิจของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์และนโยบายของรัฐโดยได้เปิดสอนหลักสูตรการพัฒนาชุมชน ในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (กศ.พท.)ตั้งแต่ปีพ.ศ.2544 ทั้งนี้เพื่อสร้างบุคลากรที่เป็นแกนนำในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเป็นการพัฒนาทุนทางสังคม ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งในแต่ละปีมีผู้นำท้องถิ่น และผู้สนใจสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรนี้เป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ.2546 จึงได้เปิดสอนหลักสูตรนี้ในภาคปกติ เพื่อได้นำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นของตน และเพื่อสร้างนักพัฒนาชุมชนเข้าทำงานในองค์การปกครองท้องถิ่นทั้งในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล
เนื่องจากนโยบายการพัฒนาท้องถิ่นของรัฐมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลามหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงหลักสูตรครั้งสุดท้ายเมือ พ.ศ.2545 ดังนั้น คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรจึงเห็นสมควรที่จะต้องปรับปรุงอีกครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของหลักสูตร
2.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนมีจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด 122 หน่วยกิต แบ่งเป็นหมวดการศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะด้าน 86และหมวดเลือกเสรี 6 หน่วยกิต มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้มีความรู้ ความสามารถ ทำงานในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคุณลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ มีความเป็นผู้นำ เป็นนักพัฒนา ที่มีคุณธรรม เสียสละและปรับตัวได้ดี
3.การปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ได้ปรับปรุงในเรื่องจำนวนหน่วยกิตเดิม 125 หน่วยกิต เหลือ 122 หน่วยกิต และได้เพิ่มวิชาภาษาอังกฤษเป็น 12 หน่วยกิต การปรับปรุได้ปรับรายวิชา 2 หน่วยกิต เป็น 3 หน่วยกิต ทุกรายวิชายกเว้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้ปรับกลุ่มรายวิชาเนื้อหาบังคับที่มีเน้อหาใกล้เคียงกันรวมเป็นวิชาเดียวกัน ได้ปรับรายวิชาเลือกบางวิชาให้เป็นวิชาบังคับ และเพิ่มรายวิชาเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง และความต้องการของท้องถิ่น เนื้อหาที่ปรับปรุงได้นำข้อคิดเห็นของผู้ที่เรียนจบไปแล้วมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง ตลอดจนข้อคิดเห็นของกลุ่มเครือข่ายคณาจารย์ นิสิตนักศึกษาพัฒนาชุมชน ที่ได้มีการจัดสัมมนาทั่วประเทศรวม 59 สถาบันทุกปี
4.การปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนครั้งนี้ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำงานด้านการพัฒนาชุมชนมาร่วมให้ข้อคิดเห็นด้วยหลักสูตรที่ปรับปรุงจึงเป็นหลักสูตรที่ผลิตออกไปทำงานกับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
ปรัชญาของหลักสูตร"บัณฑิตมีความรู้ คู่คุณธรรม มีความเสียสละ สามารถศึกษาวิจัยและทำงานร่วมกับชุมชนได้"
|
ภาระหน้าที่ |
1.เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีคุณธรรม สามารถทำงานในองค์กร ภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการพัฒนาชุมชน
3.เพื่อผลิตบัณฑิตที่ส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
|
หน่วยงานย่อย
/ สาขาวิชา |
|