โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและประกันคุณภาพการศึกษา (Faculty Information System)
สำหรับมหาวิทยาลัย
ราชภัฏราชนครินทร์
     
1. Requirement
  มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ไ้ด้ จัดทำพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและประกันคุณภาพการศึกษา (Faculty Information System) เพื่อให้บันทึกผลการปฏิบัติงานตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลรวมของการดำเนินงานตามพันธกิจในแต่ละด้าน โดยเกิดจากการทำงานของบุคลากรในทุกระดับ ผลการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคน จะถูกประมวลผลออกมาเป็นผลรวมของการปฏิบัติงานในระดับคณะ และภาพรวมของสถาบันฯ จากความร่วมมือของบุคลากรที่มีหน้าที่ในการทำงานในแต่ละด้านของหน่วยงานระดับคณะทุกหน่วยงาน การรวบรวมผลการดำเนินงานทุกด้านเข้าไว้ในระบบสารสนเทศคณะ จะก่อให้เกิดผลดีในด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอด จนการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งในด้านการบริหาร และการนำเอาไปใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงานในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา กพร. และอื่นๆต่อไป
2. องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการของคณะ (FIS : Faculty Information System)
  ระบบสารสนเทศคณะ เพื่อเป็นฐานข้อมูลประกอบการรายงานผลการดำเนินงานของคณะ เช่น การจัดทำรายงานประจำปี รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษา รายงานผลตามตัวชี้วัด กพร. การบริหารจัดการของหน่วยงาน และประกอบผลการดำเนินงานของบุคลากรแต่ละคน
    
  ระบบสารสนเทศแผนงานโครงการ เพื่อใช้ในการบริหารแผนงาน โครงการคณะ ให้มีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบปัจจัยนำเข้า (Input) ติดตามกิจกรรมในแต่ละเดือนและการรายงานผล (Monitor process) และ ตรวจสอบผลผลิตหรือผลที่ได้จากโครงการ(output)
  ระบบบันทึกเอกสารประกอบการประกันคุณภาพภายใน (QAsar)
   
3. ลักษณะการทำงานของระบบ 
  ระบบสารสนเทศคณะ (FIS : Faculty Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ทำงานในลักษณะ Web-Based Application โดยทำงานบนพื้นฐาน การทำงานร่วมกัน ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในแต่ละด้าน และบุคลากรทุกคนภายในองค์กรระดับคณะ มีการดำเนินงาน ใน 2 ระบบ คือ การบันทึกข้อมูล และการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศได้แก่
  1. ระบบประมวลผลข้อมูลในระดับคณะ (Transaction Processing System : TPS) เป็นระบบช่วยจัดแยกประมวลข้อมูล ที่เกิดจากเหตุการณ์ประจำวันของแต่ละคณะ เช่น กิจกรรม การให้บริการวิชาการ เป็นต้น
  2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) เป็นระบบที่นำสารสนเทศมาใช้ในการจัดทำรายงาน ในลักษณะต่างๆ เพื่อการวางแผน และควบคุมการดำเนินงาน โดยสารสนเทศดังกล่าวได้มาจากระบบการประมวลผลข้อมูล (TPS) โดยการสร้างสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ ในรูปความถี่ และร้อยละ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่
    • สารสนเทศ ส่วนที่เป็นรายละเอียด (Detail Information )
    • สารสนเทศ ส่วนที่เป็นผลสรุป (Summary Information)
    • สารสนเทศ เพื่อการพยากรณ์ (Prediction Information)
    • สารสนเทศ กรณีเฉพาะ (Exception Information)
4. ส่วนประกอบการทำงานของระบบ
 

เป็นการพัฒนาการทำงานของระบบสารสนเทศคณะ (FIS : Faculty Information System) ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตทั้งในส่วนของการบันทึกข้อมูล และการประมวลผลได้แบ่งการทำงานออกเป็น 6 ส่วนตามความรับผิดชอบในการทำงานคือ

Part 1 Data Management สำหรับการจัดการฐานข้อมูล และการกำหนดผู้ใช้งานให้กับระบบ มีผู้ดูแลระบบเป็นผู้รับผิดชอบ

Part 2 Public Information เป็นส่วนการแสดงผลสารสนเทศ และประมวลผลข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลในระบบ เพื่อให้ได้สารสนเทศทั้งในส่วนที่เป็นรายละเอียด (Detail Information ) สารสนเทศส่วนที่เป็นผลสรุป (Summary Information) ในระดับมหาวิทยาลัย ผู้ใช้งานในระบบคือ บุคคลทั่วไป

Part 3 Faculty Login แบ่งส่วนการบันทึกเป็น 2 ลักษณะคือ 1) ส่วนการบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ที่ได้รับมอบหมาย และแต่งตั้งจากคณะ ใช้บันทึกผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของคณะ เช่น ผลงานวิชาการ กิจกรรม งานวิจัย เป็นต้น 2) ส่วนการบันทึกของกลุ่มงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานบัณฑิต เป็นต้น ผู้ใช้งานคือ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลที่ได้รับสิทธิในการใช้งาน

Part 4 Personnel Login เป็นส่วนที่บุคลากรทุกคนใช้ตรวจสอบข้อมูลผลการดำเนินงานด้วยตนเอง และใช้บันทึกข้อมูลภาระหน้าที่ และอื่นๆที่จำเป็น เข้าในฐานข้อมูลร่วมกับการบันทึกข้อมูลของ Part 3 ผู้ใช้งานคือ บุคลากรทุกคนที่ได้รับสิทธิในการใช้งาน

Part 5 Executive Information เป็นส่วนแสดงผลการประมวลผลข้อมูลซึ่งเป็น สารสนเทศกรณีเฉพาะ (Exception Information) สำหรับผู้บริหารเพื่อใช้เป็นสารสนเทศประกอบในการตัดสินใจในด้านต่างๆ และใช้ในการวางแผน ของมหาวิทยาลัย ผู้ใช้งานคือผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย หรือ ได้รับมอบหมาย (ไม่ได้ทำ เนื่องจากทุกคณะของมหาวิทยาลัยไม่ได้นำระบบนี้ไปใช้ทั้งหมด)

Part 6 Faculty Information เป็นส่วนแสดงผลที่ได้รวบรวมสารสนเทศทั้งหมด และแสดงสารสนเทศเฉพาะคณะที่ Login เข้าไปในระบบ สำหรับผู้บริหารคณะ ใช้เป็นสารสนเทศประกอบในการตัดสินใจด้านการบริหารงานและ การวางแผนของคณะ ผู้ใช้งานคือผู้บริหารระดับคณะหรือได้รับมอบหมาย

5. Architecture
  ระบบสารสนเทศคณะ (FIS) มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ใช้สถาปัตยกรรมการทำงานแบบ Client/Server ซึ่งเครื่องแม่ข่าย (Server) ชื่อ URL : http://202.28.82.69/ และ ผู้ใช้ทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Client) ที่อยู่ในระบบเครือข่าย Intranet ของมหาวิทยาลัย กระจายอยู่ในคณะต่างๆ หรือ ทำงานผ่านระบบ Internet ด้วย Modem ติดต่อ มายังเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ดังนั้นผู้ใช้งานทุกคนจึงต้องสามารถทำงานภายใต้ระบบเครือข่าย Internet หรือ Intranet ส่วนผู้ดูแลระบบจะทำงานผ่านทาง Internet (Remote Access) เพื่อ จัดการ และ บำรุงรักษาระบบ
 
6. คณะที่ปรึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
 
1. รองศาสตราจารย์ เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร ประธานคณะที่ปรึกษา
2. นาย ไพศาล กาญจนวงศ์ คณะทำงาน
3. นาง อาบทิพย์ มงคลเทพ คณะทำงาน

 


Rajabhat Rajanagarindra University