รายงาน : รายละเอียดกิจกรรม รหัสรายงาน : A01.2
    ครั้งที่ปรับปรุง : -
    วันที่เริ่มใช้ : 01-04-2550
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "เทคนิคการพูดสื่อสารภาษาต่างประเทศ"
            โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติเทคนิคการการพูดสื่อสารภาษาต่างประเทศ
(Cross Talk and Communication Workshop)
หลักการและเหตุผล
ในการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษพบว่า ครูผู้สอนคนไทยจะมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ถนัดพูดสื่อสารเมื่อต้องใช้ภาษาต่างประเทศ และจากผลของการศึกษาวิจัยพบว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาร้อยละ 95 ใช้ภาษาไทยในการสอนภาษาต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลให้นักเรียนขาดโอกาสในการใช้ภาษาที่สองในการสื่อสารทั้งที่เรียนภาษาต่างประเทศ และนักเรียนในระดับประถมศึกษาเป็นช่วงวัยที่สามารถพูดเลียนเสียงได้เหมือนหรือใกล้เคียงเจ้าของภาษามากที่สุด ทำให้เป็นการเสียโอกาส ในที่สุดทั้งผู้สอนและตัวนักเรียน ขาดความมั่นใจในการพูดสื่อสาร การเรียนภาษาต่างประเทศจึงเป็นเรื่องยากและเป็นภาระหนักเกินไป
การเรียนรู้เครื่องมือและเทคนิควิธีที่จะใช้สื่อสารกับนักเรียนเป็นภาษาต่างประเทศในการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับครูสอนภาษาต่างประเทศ ที่จะช่วยขจัดความกังวลของครูในเรื่องที่รู้สึกว่าความสามารถในการพูดของครูมีไม่เพียงพอในการจะสื่อสารกับนักเรียนเป็นภาษาอังกฤษได้ ในการฝึกอบรมปฏิบัติการทักษะเทคนิคการสื่อสารจะช่วยให้ครูสอนภาษาต่างประเทศได้เรียนรู้และรู้จักใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการพูดสื่อสารเพื่อให้เข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อกับนักเรียนและเจ้าของภาษา อย่างเป็นธรรมชาติและทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกสนานและง่ายต่อผู้เรียน
เทคนิค crosstalk เป็นเทคนิคที่ช่วยในการสื่อสารให้เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยทำให้ผู้รับสารและสื่อสารเข้าใจกัน เป็นวิธีการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ถึงจะไม่มีวงคำศัพท์และความรู้เรื่องไวยากรณ์มาก ก็จะสามารถหาวิธีการสื่อสารตามความต้องการที่จะสื่อ ดังนั้น การร่วมสัมมนาปฏิบัติการ crosstalk จะช่วยให้ได้เรียนรู้วิธีการและเครื่องมือที่จะใช้ในการสื่อสาร โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาที่สองของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ
ในการอบรมปฏิบัติการทักษะการสื่อสารท่านจะได้เรียนรู้เครื่องมือและเทคนิคในการสื่อสาร และ ประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงในห้องเรียน รวมทั้งการออกแบบกิจกรรมและการวางแผนการสอนเพื่อการสื่อสาร รวมทั้งการฝึกทักษะการสื่อสารของผู้สอนโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ
ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และความจำเป็นที่ครูอาจารย์ได้ฝึกใช้เครื่องมือในการสื่อสารทางภาษาเพื่อให้ได้ใช้ภาษาในการสื่อสารความหมายในสิ่งที่พูดในการสอนในห้องเรียน แทนการพูดอธิบายเป็นภาษาไทยและรวมทั้งการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารกับชาวต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยหรือในการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อการเรียนและการศึกษาดูงาน ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ให้ครูอาจารย์ที่สอนภาษาต่างประเทศได้พัฒนาการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำเสนอเทคนิคการสื่อสารแบบ crosstalk
2. เพื่อให้ครูได้ฝึกใช้เครื่องมือการสื่อสารเพื่อความเข้าใจระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารที่ต่างภาษาและวัฒนธรรม
3. เพื่อให้ครูได้ทดลองนำเทคนิควิธีดังกล่าวไปใช้ในการสื่อสารกับนักเรียนในห้องเรียนภาษาต่างประเทศแทนการพูด อธิบายเป็นภาษาไทย
4. เพื่อให้ครูมีวิธีการในการสื่อสารเป็นภาษาต่างประเทศ ในการผูกมิตรกับคนต่างชาติหรือสอบถามสิ่งที่ต้องการ และบอกเล่าเรื่องของตนให้กับคนต่างชาติเข้าใจได้
กลุ่มเป้าหมาย
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 และเขต 2 จำนวน 90 คน
ครูระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 เข้ารับการอบรมระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2550
ครูระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2 เข้ารับการอบรมระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2550
โดยส่งแบบตอบรับการอบรมที่ ผศ.ดร. ผ่องศรี มาสขาว ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อาคาร 3 ชั้น 6 ภายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2550 โทรสาร 038 810-337
วิธีการดำเนินโครงการ
1. ประสานกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 และเขต 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการส่งครูอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤาในระดับประถมศึกษาเข้ารับการอบรม
2. ติดต่อวิทยากรประสานการจัดเนื้อหาและวิธีการอบรม
3. ดำเนินการอบรม
4. ประเมินผลการอบรม
5. สรุปและรายงานเพื่อการปรับปรุงในครั้งต่อไป
ระยะเวลาและสถานที่
ระยะเวลาในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 18- 19 กรกฎาคม 2550
สถานที่ในการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ห้องเขียวเสวย สัมมนาคารบางปะกงปาร์ค มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
งบประมาณในดำเนินการ
ที่มาของงบประมาณ
1. งบสนับสนุนของศูนย์ภาษาโครงการอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษในจังหวัดฉะเชิงเทรา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นค่าตอบแทนวิทยากร และค่าเอกสาร ค่าใช้สอยเป็นจำนวนเงิน 60,000 บาท
2. งบประมาณจากผู้เข้าอบรมเป็นค่าอาหารกลางวันและค่าจัดเครื่องดื่มและของว่างคนละ 500 บาท
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในสถานการณ์และรูปแบบที่ไม่ค่อยได้ใช้มาก่อน เกิดความมั่นใจพร้อมทั้งมีศักยภาพในการสื่อสาร มีเครื่องมือการสื่อสารที่จะสามารถนำไปใช้ในชั้นเรียนของตน ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน มีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ
วิทยากรผู้ให้การอบรม
1. Mr. David Long ชาวอเมริกัน พำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 20 ปี โดยทำงานเป็นผู้ผู้บริหารทางด้านการเรียนการสอนและการพัฒนทักษะการสื่อสาร และเป็นกรรมการบริหารของสถาบันภาษา เอ ยู เอในโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้กับคนต่างชาติ และเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติ เมตตา และผู้อำนวยการบริษัท เอแอลจี เวิลด์ จำกัด เป็นผู้ที่มีความสนใจและอุทิศตนเองในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะภาษา และพยายามที่จะค้นหาวิธีการต่าง ๆ ให้การเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องง่ายและสนุกสำหรับผู้เรียน
2. คุณศิริลักษณ์ แสงศิริ เป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทยของสถาบันภาษา เอ ยู เอ และเป็นทีมงานของอาจารย์ เดวิด ลอง เป็นผู้เชียวชาญด้านการเล่าเรื่อง (story telling) และได้ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารเพื่อช่วยในการเรียนภาษา พร้อมกับเทคนิควิธีการในการสื่อสารด้วยภาษาท่าทาง ทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อสารและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. คุณวิภา รัตโนดม เป็นอาจารยสอนภาษาไทยให้กับชาวต่างชาติและมีประสบการณ์ในการสอนเพื่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารเป็นเวลามากกว่า 40 ปี มีประสบการณ์ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาโดยใช้เทคนิควิธีการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ปัจจุบันเป็นหัวหน้าโปรแกรมวิชาภาษาไทยของสถาบันสอนภาษา เอ ยู เอ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
ผศ.ดร ผ่องศรี มาสขาว
ผศ.ดร นพรัตน์ สรวยสุวรรณ
Mr. Allan Marshall

ประเภทกิจกรรม : กิจกรรมวิชาการ

วัน-เดือน-ปี : 11-07-2550

หน่วยงาน : ศูนย์ภาษา

งบประมาณ : 52752 บาท

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 52 คน

รายงานผลงานกิจกรรม : ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 และ 2 มีการพัฒนาทางด้านทักษะและรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษที่หลากหลายและประยุกต์ใช้กับห้องเรียนจริงได้อย่างเหมาะสม














Rajabhat Rajanagarindra University